บล็อกนี้เป็นการทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สวยงามตามภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น           นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ และเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า ดีหมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น