บล็อกนี้เป็นการทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สวยงามตามภาพ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ผัดไทย

ผัดไทย หรือ ผัดไท เป็นอาหารไทยที่สามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศไทย นิยมกันในภาคกลาง
ผัดไทมีมาแต่โบราณในชื่อ "ก๋วยเตี๋ยวผัด" ผัดไทนั้นกลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติตั้งแต่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง[2] และได้เปลี่ยนชื่อก๋วยเตี๋ยวผัดเป็น "ก๋วยเตี๋ยวผัดไท" ตามชื่อใหม่ของประเทศ[3] ปัจจุบันเรียกกันโดยย่อเหลือเพียงแค่ "ผัดไทย" ในต่างประเทศ อาทิในประเทศยุโรป และ อเมริกา ผู้คนนิยมกินกันมาก และเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความเป็นอาหารไทยได้เป็นอย่างดี เพราะชื่ออาหารที่เรียกง่ายและ บ่งบอกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจนนั้น ทำให้ผัดไทยได้กลายเป็นอาหารสากลที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดีและนิยมรับประทาน ทุกครั้งที่ชาวต่างชาติเข้าไปร้านอาหารไทย ต้องมีการสั่ง "ผัดไทย" อย่างแน่นอน จึงทำให้ร้านอาหารไทยในต่างแดนขาย ผัดไทยต่อวันไม่ต่ำกว่า1,000 จานเลยทีเดียว

โดยมากจะนำเส้นเล็กมาผัดด้วยไฟแรงกับ ไข่ กุ้ยช่าย ถั่วงอก หัวไชโป๊วสับ เต้าหู้เหลือง ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยพริก น้ำปลา และน้ำตาล และเสิร์ฟพร้อมกับมะนาว กุ้ยช่าย ถั่วงอกสด และหัวปลี เป็นเครื่องเคียง ร้านผัดไทบางแห่งจะใส่เนื้อหมูลงไปด้วย บางที่อาจจะใช้เส้นจันท์ซึ่งเหนียวกว่าเส้นเล็ก เรียกว่า "ผัดไทเส้นจันท์" หรือใช้ วุ้นเส้น เรียกว่า "วุ้นเส้นผัดไท" รวมทั้งผัดหมี่โคราชที่มีลักษณะคล้ายผัดไทย กินกับส้มตำ
นอกจากนี้ยังมีผัดไทยประยุกต์ โดยนำส่วนผสมทุกอย่างผัดให้เข้ากัน แล้วนำไข่เจียวมาห่อผัดไททีหลัง เรียกว่า "ผัดไทห่อไข่" หรือบางที่อาจจะใส่กุ้งสดแทนกุ้งแห้ง เรียกว่า "ผัดไทกุ้งสด" ร้านขายผัดไทมักจะขายหอยทอดหรือขนมผักกาดควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากเครื่องปรุงที่ใช้มีหลายอย่างใช้ร่วมกัน

กลองยาว

กลองยาว
ประวัติกลองยาว
            กลองเป็นเครื่องมือตีทำด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง ถ้าขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรำมะนา ถ้าขึงหนัง 2 หน้า ร้อยโยงด้วยสายหนัง เรียกว่ากลองมาลายู ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองขนะ
ประวัติกลองยาว
กลองยาวได้แบบอย่างมากจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว
การทำกลองยาวในต่างประเทศ
กลองยาวแบบนี้ของพม่าเรียกว่า "โอสิ" (OZI) และของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัมก็มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่กลองยาวของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็กป่องกลางและเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายตีได้ ตามที่ได้เห็นวิธีเล่น ทั้งกลองยาวของพม่า และกลองของชาวไทยอาหม สังเกตดูเห็นเล่นเป็นแบบเดียวกัน อาจจะเลียนอย่างจากกันก็ได้



การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์  เป็นต้น
            อุปกรณ์และวิธีเล่น
       กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตีผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"[1] และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
จอมพลสฤษดิ์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการแปลวรรณกรรมกัมพูชามาเป็นภาษาไทย[2][3][4] ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษฎ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ในราชอาณาจักรลาว

บทบาททางการเมือง

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วัน ก็ลาออก โดยสาเหตุการลาออกนั้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[10] ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง"[11] ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อสถานการณ์ลุกลาม เกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ"[12]
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามขาดความชอบธรรมที่จะปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[13] คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว
เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องการจะรักษาอำนาจต่อไป จึงทำให้มีทั้งนายทหารและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภท 1 และประเภท 2 ที่เคยสนับสนุนรัฐบาลบางส่วนลาออก บางส่วนแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยอมร่วมสังฆกรรมด้วยอีกต่อไป ต่างก็พากันไปร่วมมือกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีเป้าหมายคือให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ลงจากอำนาจ
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจากจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง[14] ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"[15]
จนเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปที่บ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลแต่ยังไม่ทันที่ดำเนินการใด ๆ
ในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงครามออกจากตำแหน่ง ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ ท่ามกลางความยินดีของประชาชนชาวไทย รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้สิ้นสุดอย่างสิ้นเชิงนับแต่นั้น
หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งนายพจน์ สารสิน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลนายพจน์ สารสินจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พลโทถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร และพลโทถนอม กิตติขจรก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
ในช่วงที่บริหารประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมืองลง โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" ทั้งยังได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้าประปาถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง รวมอายุได้ 55 ปี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง[16] ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัยแก่ท่านด้วย[17]
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีฉายาว่า "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย[18] เพราะตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 17 การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาเป็นต้น[19]
นอกจากนี้แล้ว ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลสฤษดิ์ ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีประสาทเขาพระวิหาร ในศาลโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการเรื่ยรายเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก[20] ซึ่งในคำตัดสินของศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งหลังจากทราบคำตัดสินของศาลโลกแล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย[21]

[แก้]

ผักชะอม

ชื่อ "ชะอม"
วงศ์ "LEGUMINOSAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "AcaciaPennata(L.)Willd.Subsp.
InsuavisNielsen"
ชื่อพื้นเมือง "ผักหละ(เหนือ),ฝ่าเซ้งดู่,พูซูเด๊าะ
(กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)โพซุยโดะ(กระเหรี่ยง,
กำแพงเพชร),อม(ใต้),ผ้กขา(อุดรธานี,อีสาน),
ผักหล๊ะ(ไทยยอง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมแต่เคยมีพบชะอมในป่าลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้1.2เมตร
ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้านจะพบในลักษณะไม้พุ่มและเจ้าของมักตัแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สู่เกินไปจะได้เก็บยอด
ได้สะดวกตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบอยู่2 ทางลักษณะ
คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อยใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอใบเรียงแบบสลับใบย่อยออกตรงข้ามกัน
ไบย่อรูปรีมีประมาณ13-28คู่ขอบใบเรียบปลายใบแหลมดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือขาวนวลดอกขนาด
เล็กและเห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ


การปลูก
ชะอมเป็นไม้ที่ปลูกง่ายปลูกโดยวิธีการปักชำการเพาะเมล็ดการตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้
ต้นใหม่แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ดการปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนักการ
เพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ1ครั้งเมื่อเมล็ดงอกแล้วจึงย้าไปปลูกยังแปลว
ที่เตรียมไว้ควรปลูกห่างกันประมาณ5-5เมตรเนื้อที่1ไร่จะปลูกได้ประมาณ60ต้นปุ๋ยที่ใช้ดูแลรักษามักใชัปุ๋ย
สดหรือมูลสัตว์ถ้าต้องการให้ชะอมสมบูรณ์และแตกยอดเร็วต้องดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียง
พอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือไว้ที่ยอด3-4ยอดเพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารหายใจมิฉะนั้นชะอมจะตายชะอม
เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จากการขายยอดชะอมของชาวบ้านที่จ.สุรินทร์
พบว่ามีรายได้2000-7000ต่อเดือนขึ้นกับฤดูกาลและขนาอของพื้นที่ที่ปลูกนอกจากนี้ยังเป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียและเจริญเติบ
โตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี
ประโยชน์ทางยา
รากของชะอมสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล"ยอดอ่อนใบอ่อน"เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝนชาวเหนือนิยมรับ
ประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง
การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทยวิธีการปรุงเป็นอาหารคือรบประทาน
เป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้นๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน
ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกันส้มตำมะม่วงตำส้มโอนอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสาน
ยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชนชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลาไก่เนื้อกบเขียดต้มเป็นอ่อมหรือแกงแกง
ลาวและแกงแคของชาวเหนือเป็นต้น
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน(กลิ่นหอมสุขุม)ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม100กรัมให้พลัง
งานกับสุขภาพ57กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย5.7กรัมแคลแซียม58มิลลิกรัมฟอสฟอรัส80มิลลิกรัม
เหล็ก4.1มิลลิกรัมวิตามินเอ10066IUวิตามินบีหนึ่ง0.05มิลลิกรัมวิตามินบีสอง0.25มิลลิกรัมในอาซิน
1.5มิลลิกรัมวิตามินซี58มิลลิกรัม

แม่น้ำชี

ชื่อของแม่น้ำชี เกิดจากแม่หม้ายคนหนึ่งอยู่กับลูกสาว สามีของนางเสียชีวิตนานแล้ว วันหนึ่งนางไปหาหน่อไม้บนภูเขาซึ่งมีหน่อไม้มาก วันนั้นนางหาหน่อไม้ได้มากกว่าทุกวันนางจึงได้นำหน่อไม้ที่หาได้ไปขายในตลาดกับลูกสาวของนาง ปรากฏว่าหน่อไม้ของนางขายดีได้เงินมาเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อได้เงินจากการขายหน่อไม้นางได้พาลูกสาวของนางไปซื้อเสื้อผ้าซื้อของที่ลูกของนางอยากได้ เมื่อนางและลูกสาวซื้อของเสร็จกำลังจะออกจากร้าน เจ้าของร้านก็ได้บอกนางว่า "ผู้หญิงคนนี้สวยจริง ๆ เลย" ต่อมามีคนพูดว่า "ลูกสาวของป้าสวยอย่างนี้ทำไมไม่ให้เข้าไปอยู่ในวังจะได้สบาย" ต่อมานางจึงพยายาม ส่งลูกสาวเข้าไปอยู่ในวังเมื่อลูกสาวของนางได้ไปอยู่ในวังก็เป็นที่หมายปองของชายทั้งหลาย และได้พบรักกับลูกขุนนาง และตกลงใจแต่งงานกัน โดยไม่บอกมารดาด้วยความเป็นห่วง นางรู้แล้วว่าลูกสาวของนางแต่งงานแต่ไม่บอกนาง นางก็ไม่โกรธและได้เข้ามาหาลูกสาวในวัง เมื่อลูกสาวพบหน้ามารดาก็ทำท่าเหมือนไม่รู้จักซ้ำยังไล่เหมือนกับว่าไม่ใช่แม่ สร้างความเสียใจให้แก่ผู้เป็นแม่มาก นางกลับบ้านด้วยความเสียใจ เมื่อกลับถึงบ้านนางยังคงร้องไห้อยู่ทุกวัน เสียใจกับลูกที่นางรักปานแก้วตาดวงใจ ที่ทำกับนางเช่นนี้แม้ชีวิตก็ยอมสละให้ลูกได้ นางคิดว่าในชีวิตของนางไม่เหลืออะไรอีกแล้ว เพราะคนที่นางรักยังไม่สนใจใยดีนางจึงไปวัดไปหาความสงบในชีวิตที่เหลือน้อยเต็มที ในที่สุดก็ตัดสินใจบวชชี และได้เดินทางไปบนภูเขาซึ่งนางเคยหาหน่อไม้กับลูกสาวของนาง และได้นั่งร้องไห้บนภูเขาจนน้ำตาของนางกลายเป็นสายน้ำที่ไหลอยู่ทุกวันนี้และได้จบชีวิตลง ณ ที่แห่งนั้น ชาวบ้านได้เรียกชื่อแม่น้ำสายนี้ว่า "แม่น้ำชี"

น้ำตกทีลอซู


น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย[ต้องการอ้างอิง]
ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู"

ข้าวเหนียวมะม่วง


ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมหวานไทยยอดนิยม และจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษในฤดูร้อน ทำจากข้าวเหนียว เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู มูนกับหัวกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาว แล้วกินกับเนื้อมะม่วงสุก ที่นิยมคือ มะม่วงอกร่อง และมะม่วงน้ำดอกไม้ อาจราดกะทิ และโรยถั่วบางชนิด แล้วแต่ชอบใจ[1]
ข้าวเหนียวมะม่วงมีแคลอรีสูง ถ้ากินขณะเป็นโรคกระเพาะอาหาร, ม้ามพร่อง หรือระบบย่อยอาหารบกพร่อง จะท้องอืด, จุกเสียดแน่น และอาหารย่อยยากมากขึ้นได้ นอกจากนี้ หากรับประทานเกินพอดี จะร้อนใน, เจ็บคอ, ท้องผูก, ปวดหัว เป็นต้น เอาได้ อย่างไรก็ดี ข้าวเหนียวในขนมหวานชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นของร้อนรสหวาน จะช่วยบำรุงพลัง ตลอดจนบำบัดอาการเหงื่อออกมาก และท้องเสีย โดยเฉพาะมะม่วงที่มีรสหวานปนเปรี้ยวนั้น ช่วยบำรุงร่างกาย, แก้ไอ และขับลมได้

ข้าวหอมมะลิ

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

สุนทรภู่

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆเรื่อง


ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

วัดพระแก้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ


วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ